Friday, 29 March 2024
LITE

30 มกราคม พ.ศ. 2491 ‘มหาตมะ คานธี’ ถูกยิงเสียชีวิต ด้วยฝีมือชายชาวฮินดูผู้คลั่งศาสนา

30 มกราคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) นาถูราม โคทเส ยิง มหาตมะ คานธี ผู้นำทางการเมือง และ จิตวิญญาณของชาว อินเดีย เสียชีวิต ในเมืองเดลี

ช่วงเย็นของวันที่ 30 มกราคม มหาตมะ คานธี 2491 (ค.ศ. 1948) ผู้นำทางจิตวิญญาณแห่งอินเดียกำลังยืนอยู่กลางสนามหญ้า ในขณะพนมมือสวดมนต์ตามกิจวัตร คานธีถูกนายนาถูราม โคทเส ชาวฮินดูผู้คลั่งศาสนาและไม่ต้องการฮินดู (อินเดีย) สมานฉันท์กับมุสลิม (ปากีสถาน) ใช้อาวุธปืนยิงใส่คานธี 3 นัด จนคานธีล้มลงขณะพนมมือ รายงานส่วนใหญ่บรรยายว่า คานธีเปล่งเสียงแผ่วเบาว่า 'ราม' (บ้างก็ว่า 'เห ราม' ซึ่งมีความหมายว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า) เป็นการปิดฉากบั้นปลายชีวิตของมหาบุรุษผู้ต่อสู้กับมหาอำนาจด้วยสันติวิธีในวัย 78 ปี ภายหลังจากที่อินเดียได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์ได้เพียง 6 เดือน

สำหรับประวัติของชายผู้นำการเรียกร้องเอกราชและความเสมอภาค ที่ชื่อ มหาตมะ คานธี ที่เน้นความเป็นสันติวิธี เรียกกันว่าสัตยาเคราะห์ มีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุการณ์หนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่คานธีเป็นทนายความในวัย 24 ปี โดยเกิดขึ้นบนสถานีรถไฟในประเทศแอฟริกาใต้ครั้งยังอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ

เป็นเหตุการณ์หลังจากที่คานธีเรียนจบกฎหมายจากลอนดอนกลับมาอยู่ที่อินเดียได้ไม่นาน คานธีเดินทางไปแอฟริกาใต้เพื่อไปเป็นนักกฎหมายประจำบริษัท Dada Abdulla ที่ทำการค้าอยู่ที่นั่น ในเดือนเมษายน ปี 1893 คานธีซื้อตั๋วรถไฟชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นตู้รถไฟที่หรูหราสะดวกสบายตามอัตราค่าบริการที่สูง แต่เขากลับถูกไล่ลงจากสถานีแรก ให้ไปอยู่ที่ตู้รถไฟชั้นสาม (ชั้นทั่วไปที่ไม่มีความสะดวกสบายและราคาถูก) โดยพนักงานตรวจตั๋วและผู้โดยสารชาวอังกฤษที่อ้างว่าตู้รถไฟชั้นหนึ่งสร้างขึ้นสำหรับผู้โดยสารผิวขาวเท่านั้น

นั่นทำให้คานธีตระหนักได้ว่า ไม่เฉพาะชาวอินเดียที่ถูกข่มเหงจากคนอังกฤษ ยังรวมไปถึงชาวแอฟริกาที่ถูกกระทำไม่ต่างกับสัตว์ ในที่สุดคานธีคิดว่าเขาจะอยู่ต่อและต่อสู้กับความไม่ยุติธรรม

29 มกราคม พ.ศ.2546 จลาจลเผาสถานทูตไทยในเขมร ผลพวง การยุยง ปลุกปั่นให้เกลียดชังไทย

วันนี้ เมื่อ 20 ปีก่อน เกิดเหตุจลาจลเผาสถานทูตไทย ในกรุงพนมเปญ ของกัมพูชา หลังหนังสือพิมพ์รัศมี อังกอร์ ( Rasmei Angkor) ตีพิมพ์บทความปลุกปั่นให้คนคลั่งเกลียดชังไทย

29 มกราคม พ.ศ.2546 เกิดเหตุจลาจลในกรุงพนมเปญ ของกัมพูชา ที่ชาวไทยยังจำได้ไม่ลืม โดยจุดเริ่มต้นของเรื่องมาจากข่าวแปลก ๆ ออกมาว่า เขมรจะทวงคืนปราสาทตาเมือนธมและสต๊กก๊กธม ในจังหวัดสระแก้ว ซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2478 และบูรณะมาตลอด

กล่าวกันว่า เป็นการปล่อยข่าวจากพรรคฝ่ายค้านของนายสม รังสี ซึ่งต้องการสร้างกระแสชาตินิยมเป็นคะแนนให้พรรคสำหรับการเลือกตั้งใหญ่ในเดือนกรกฎาคมนั้น ข่าวนี้ทำคะแนนให้พรรคที่เป็นเจ้าของความคิดพอสมควร พรรคการเมืองคู่แข่งจึงต้องหาทางสร้างกระแสทำคะแนนบ้าง

ต่อมาในวันที่ 18 มกราคม 2456 ก็มีข่าวในหนังสือพิมพ์ ‘รัศมีอังกอร์’ ลงข่าวว่าดาราสาวไทย ‘กบ’ สุวนันท์ คงยิ่ง ให้สัมภาษณ์ในทีวีช่องหนึ่ง ตอบผู้สัมภาษณ์ที่ถามว่าเธอเกลียดอะไรมากที่สุดในโลก กบ สุวนันท์ บอกว่า เกลียดคนเขมรเหมือนเกลียดหมา เพราะชาวเขมรขโมยนครวัดไปจากไทย เมื่อถามว่าเธอจะเดินทางไปกัมพูชาหรือเล่นละครที่กัมพูชาเป็นผู้สร้างหรือไม่ ดาราสาวไทยก็บอกว่าจะเล่นก็ต่อเมื่อเขมรยอมคืนนครวัดให้แก่ไทย

นสพ.รัศมีอังกอร์เป็นหนังสือพิมพ์เล็กๆ มีคนอ่านไม่เท่าไหร่ ข่าวนี้เลยจุดไม่ติด ต่อมาในวันที่ 26 มกราคม นสพ. ‘เกาะสันติภาพ เดลี่’ ซึ่งเป็นหนังสือขายดีของเขมร ก็เลยต้องถ่ายทอดจาก นสพ.รัศมีอังกอร์ไปกระพือต่อ ทีนี้เลยได้ผล

ยังมี นสพ.กัมพูชาใหม่ รับลูกเสนอเป็นข่าวใหญ่ต่อมาว่า นักศึกษา 3 มหาวิทยาลัยในกรุงพนมเปญ รวมทั้งมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ได้ออกแถลงการณ์ประณามดาราสาวไทย รับกับการเสนอข่าวกุของหนังสือพิมพ์ โดยไม่ได้วินิจฉัยความเป็นไปได้ของข่าว

เป็นที่รู้กันว่า สุวนันท์ คงยิ่ง เป็นดาราสาวไทยที่ได้รับความนิยมจากคนเขมรอย่างคลั่งไคล้ และระดับการศึกษาของเธอก็ขั้นปริญญา คงไม่ปัญญาอ่อนไปด่าคนเขมรที่นิยมในตัวเธออย่างท่วมท้นแบบนั้น ตรงกันข้าม เธอจะต้องรักคนเขมรอย่างมากด้วย ที่นิยมในตัวเธอ สนับสนุนความเป็นดาราของเธอ ซึ่ง กบ สุวนันท์ ได้แถลงทั้งน้ำตาว่า เธอไม่เคยพูดอะไรเกี่ยวกับคนเขมรแบบนั้นเลย ทั้งยังอยากไปชมนครวัดสักครั้งด้วย ถ้าหากเธอพูดก็น่าจะบอกให้ชัดเจนว่าเธอพูดที่ไหน เมื่อไหร่ จะได้เอาเทปมาพิสูจน์กัน

เลวร้ายไปกว่านั้นก็คือ ในวันที่ 27 มกราคม สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้ไปปราศรัยหาเสียงที่จังหวัดกัมปงจาม บ้านเกิดของนายสม รังสี กล่าวแสดงความไม่พอใจในคำให้สัมภาษณ์ของดาราสาวไทย และว่าเธอไม่มีค่าอะไรมากไปกว่าต้นหญ้าที่ขึ้นรอบนครวัด พร้อมทั้งเรียกร้องให้คนกัมพูชามีความพอใจในวัฒนธรรมของตน โดยระบุว่าชาวบ้านหลายคนไม่ยอมประดับพระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์และพระราชินีกัมพูชา หรือแม้แต่ภาพพ่อแม่ของตน แต่กลับนำรูปของสุวนันท์ คงยิ่งมาติดแทน ทั้งยังประกาศว่าได้ออกคำสั่งให้งดฉายละครโทรทัศน์ของไทยเรื่อง ‘ลูกไม้หล่นไกลต้น’ ที่มี กบ สุวนันท์แสดงไปแล้ว

ในวันที่ 29 มกราคม นายเหมา อาวุธ ประธานสมาคมโทรทัศน์กัมพูชา ได้แถลงกับผู้สื่อข่าวว่า ในวันที่ผ่านมา คณะของผู้บริหารสถานีโทรทัศน์กัมพูชามีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ทุกสถานีหยุดแพร่ภาพออกอากาศรายการโทรทัศน์ของไทยทั้งหมดไว้ก่อน

จากนั้น ในเช้าวันที่ 29 นั้น มีนักศึกษาประชาชนกว่า 500 คนไปชุมนุมกันที่หน้าสถานทูตไทยในกรุงพนมเปญ ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับวุฒิสภา และห่างจากกระทรวงมหาดไทยไม่ถึง 100 เมตร ผู้ชุมนุมซึ่งเชื่อกันว่าเป็นม็อบจัดตั้งได้ชูป้ายด่ากบ สุวนันท์ด้วยถ้อยคำหยาบคาย ต่อมาก็ได้มีการนำธงชาติไทยมาเหยียบย่ำและจุดไฟเผา นายชัชเวทย์ ชาติสุวรรณ เอกอัครราชทูตไทย เห็นว่าเหตุการณ์ไม่น่าไว้วางใจ มีตำรวจยืนดูอยู่ไม่กี่คน จึงโทรศัพท์ไปหาพลเอก เตีย บันห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ขอกำลังสารวัตรทหารมาคุ้มครอง แต่ก็ได้รับคำปฏิเสธ อ้างว่าตำรวจคุ้มครองได้

ช่วงบ่ายสถานการณ์รุนแรงยิ่งขึ้น มีการงัดป้ายสถานทูตไทยไปเผา ซึ่งสร้างความหวาดกลัวให้เจ้าหน้าที่ไทยที่ถูกกักตัวอยู่ในสถานทูต จึงได้โทรศัพท์ไปถึงพลเอก เตีย บันห์อีกถึง 3 ครั้ง และนายกฯทักษิณ ชินวัตร ยังได้โทรศัพท์สายตรงถึงสมเด็จฮุนเซนขอให้ช่วยดูแลคนไทย ซึ่งก็ได้รับคำรับรอง แต่ประมาณ 17.00 น. ผู้ประท้วงหลายร้อยคนลุกฮือเข้าไปในสถานทูตและทำลายข้าวของ ท่านทูตได้เรียกเจ้าหน้าที่สถานทูตให้หลบไปอยู่ในบ้านพักด้านหลัง ผู้ชุมนุมก็ตามไปอีก เจ้าหน้าที่สถานทูต 14 คนต่างปีนรั้วหนีตายลงในแม่น้ำ บางคนก็ได้รับบาดเจ็บ โชคดีที่มีคนไทยเอาเรือมารับไปพักที่โรงแรมรอยัลพนมเปญ ขณะหนีก็เห็นไฟลุกขึ้นในสถานทูตแล้ว ต่อมาผู้ช่วยทูตทหารได้มารับท่านทูตไปพักที่บ้านพัก เจ้าหน้าที่บางส่วนยังพักที่โรงแรมต่อไป แต่ต่อมาทั้งโรงแรมรอยัลพนมเปญและบ้านพักผู้ช่วยทูตทหารก็ไม่รอด ถูกเผาวอดทั้ง 2 แห่ง ต้องหนีตายกันต่อไป

28 มกราคม พ.ศ. 2551 สภาโหวต ‘สมัคร สุนทรเวช’ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 ของไทย

วันนี้ เมื่อ 15 ปีก่อน สมัคร สุนทรเวช ผู้คร่ำหวอดในแวดวงการเมืองไทย ได้เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชนที่ชนะการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และทำให้นายสมัครได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนที่ 25 ของประเทศไทย

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี มีขึ้นในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2551 ครั้งนั้นมีเรื่องสำคัญที่ฝ่ายพรรคพลังประชาชนกับฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์หยิบขึ้นมาพูดคุยกันสองประเด็น คือ หนึ่ง การเสนอให้ผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีต้องอภิปรายแสดงวิสัยทัศน์ และสอง การเสนอชื่อคนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี

สืบเนื่องจากผลจากการเลือกตั้ง แม้ว่าพรรคพลังประชาชนจะได้คะแนนเสียงเกือบเกินกึ่งหนึ่งของจำนวน ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎร แต่ฝ่ายพรรคพลังประชาชนกับฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์มีคะแนนเสียงไม่ห่างกันมาก ที่สำคัญคือภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ส.ส.ของแต่ละพรรคไม่จำเป็นต้องทำตามญัตติพรรค ส.ส.สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีได้อิสระตามความคิดของแต่ละคน ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์จึงเสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะมาแข่งกับนายสมัคร สุนทรเวช จากพรรคพลังประชาชน

27 มกราคม พ.ศ.2501 วันสถาปนาโรงเรียนเตรียมทหาร ศูนย์รวมเบื้องต้นนายทหาร - นายตำรวจ

วันนี้ เมื่อ 65 ปีก่อน ตรงกับวันที่ 27 มกราคม 2601 คือวันสถาปนา โรงเรียนเตรียมทหาร 

โรงเรียนเตรียมทหาร หรือ Armed Forces Academies Preparatory School เป็นสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศกองบัญชาการกองทัพไทย และเป็นสถาบันการศึกษาแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เป็นศูนย์รวมเบื้องต้นสำหรับผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, โรงเรียนนายเรือ, โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

โดยผู้ที่ศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร เรียกว่านักเรียนเตรียมทหาร (นตท.)

การรับสมัครบุคคลพลเรือนเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารนั้น โรงเรียนเตรียมทหารมิได้เป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหารด้วยตนเอง หากแต่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, โรงเรียนนายเรือ, โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจจะเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก

โดยในแต่ละปีจะมีการกำหนดจำนวนรับนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

จากนั้นแต่ละเหล่าทัพจะส่งผู้ผ่านการสอบคัดเลือกมาเรียนรวมกันที่โรงเรียนเตรียมทหาร เป็นเวลา 2 ปี

ภายหลังจากที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนเตรียมทหารแล้ว นักเรียนเตรียมทหารเหล่านี้จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเหล่าทัพ (โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, โรงเรียนนายเรือ, โรงเรียนนายเรืออากาศและโรงเรียนนายร้อยตำรวจ) ตามที่นักเรียนได้สมัครและผ่านการสอบคัดเลือก

เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเหล่าทัพแล้ว นักเรียนนายร้อยเหล่านี้ จะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นนายทหาร และนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร พร้อมทั้งเข้ารับพระราชทานกระบี่จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เสด็จแทนพระองค์

สำหรับประวัติการก่อตั้งและสถาปนามีว่า เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2500 จอมพลถนอม กิตติขจร ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เสนอดำริต่อสภากลาโหมว่า หากจะรวมโรงเรียนที่อยู่ในระดับการศึกษาเดียวกันจากกองทัพต่าง ๆ เป็นสถาบันเดียวกันก็จะเป็นการประหยัดงบประมาณของชาติ

26 มกราคม พ.ศ. 2448 ค้นพบ ‘โคตรเพชรคัลลินัน’ เพชรเม็ดใหญ่ที่สุดในโลกที่แอฟริกาใต้

วันนี้ เมื่อ 118 ปีก่อน มีการขุดพบ เพชรคัลลินัน ( Cullinan diamond ) เพชรดิบเม็ดใหญ่ที่สุดในโลก ที่ประเทศแอฟริกาใต้

เพชรคัลลินัน ( Cullinan diamond ) เป็นเพชรดิบขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบกันมา โดยมีน้ำหนัก 3,106.75 กะรัต หรือ 621.35 กรัม มีความยาวประมาณ 10.5 ซม. ถูกพบเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2448 (ค.ศ.1905) ที่เหมืองพรีเมียร์ หมายเลข 2 ในเมืองคัลลินัน ใกล้กับกรุงพริทอเรีย ของแอฟริกาใต้ โดยโธมัส อีวาน พาวเวลล์ นักขุด ซึ่งนำมันขึ้นมาจากเหมือง และมอบให้กับผู้จัดการเหมืองคือ เฟรเดอริก เวลส์ เพชรถูกตั้งชื่อตามโธมัส คัลลินัน ประธานของเหมือง 

เซอร์วิลเลียม ครุกส์ เป็นผู้วินิจฉัยเพชรดิบ และพบว่าเพชรนี้มีคุณสมบัติพิเศษที่ความสว่างใส แต่พบจุดสีดำอยู่ตรงกลาง สีสันของเพชรบริเวณรอบ ๆ จุดดำนั้นสวยงามและเปลี่ยนไปตามเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ เขาคิดว่ามันเกิดจากความเครียดภายในของอัญมณี ซึ่งพบได้ค่อนข้างยากในเพชร

ในเดือนเมษายน ปีเดียวกัน มันถูกนำออกขายที่กรุงลอนดอน แต่ถึงแม้จะได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก แต่ก็ยังขายไม่ออกจนผ่านไป 2 ปี ในที่สุดในปี 2450 รัฐบาลอาณานิคมทรานส์วาลในแอฟริกา ได้ซื้อเพชรคัลลิแนน และนายกรัฐมนตรีหลุยส์ โบทา ได้ทูลเกล้าถวายเพชรแก่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 พระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2450 ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระองค์ 

หลังจากนั้นเพชรถูกตัดแบ่งและเจียระไนโดยบริษัท Joseph Asscher & Co ในกรุงอัมสเตอร์ดัม ของเนเธอร์แลนด์

เพชรคัลลินัน ถูกตัดแบ่งเป็นสามส่วนใหญ่ ๆ และต่อมาก็แบ่งเป็น 9 ชิ้นใหญ่  96 เม็ดย่อย และเศษเพชรน้ำหนักรวม 19.5 กะรัต 

เพชรที่เจียระไนแล้วชิ้นใหญ่ที่สุดนั้นได้ชื่อว่า คัลลินัน 1 หรือดาวที่ยิ่งใหญ่แห่งแอฟริกา มันหนัก 530.4 กะรัต และได้ชื่อว่าเป็นเพชรเจียระไนที่ใหญ่สุดในโลก 

25 มกราคม พ.ศ. 2502 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 9 เสด็จฯ ไปทรงเปิดพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์

วันนี้เมื่อ 64 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีบวงสรวงและเปิดพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์

พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ ประกอบด้วยพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพระคชาธารออกศึกและองค์เจดีย์ยุทธหัตถี 

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างเจดีย์ขึ้น เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะในสงครามยุทธหัตถี ที่ทรงมีต่อพระมหาอุปราชาแห่งพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2135 กองทัพบกได้บูรณะปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นเจดีย์แบบลังกาทรงกลมใหญ่ สูง 66 เมตร ฐานกว้างด้านละ 36 เมตร ครอบเจดีย์องค์เดิม ภายในองค์เจดีย์ได้มีการสร้างห้องแสดงประวัติศาสตร์ ทั้งภาพแสงสีเสียง และหุ่นจำลองการยกทัพของพม่าและไทย หลายร้อยตัว เป็นสถานที่ได้ทั้งความรู้และเพลิดเพลิน 

24 มกราคม พ.ศ. 2543 กองกำลังก๊อดอาร์มี่ บุกยึด รพ.ราชบุรี จับตัว ‘หมอ - คนไข้’ เป็นตัวประกันนานกว่า 20 ชม.

วันนี้เมื่อ 23 ปีก่อน เกิดเหตุระทึกขวัญ ‘กองกำลังก๊อดอาร์มี่’ บุกยึดโรงพยาบาลราชบุรี จับแพทย์ พยาบาล และผู้ป่วยเป็นตัวประกันนับพันคน เหตุการณ์ตึงเครียดกว่า 20 ชั่วโมง ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะยุติเรื่องราวลงได้

วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2543 เกิดเหตุการณ์ระทึกขวัญ เรียกว่าเป็นข่าวใหญ่ที่ประชาชนคนไทยต่างติดตามกันทั้งประเทศ เมื่อมีรายงานข่าวด่วนว่า มีกองกำลังก๊อดอาร์มี่ จำนวน 10 คน ได้ก่อเหตุบุกยึดโรงพยาบาลที่จังหวัดราชบุรี

สืบย้อนกลับไปก่อนเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว กองกำลังทหารกะเหรี่ยงกลุ่มนี้ เคยเข้าบุกยึดสถานทูตพม่ามาครั้งหนึ่งแล้ว ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ซ้ำสอง แต่คราวนี้มีเป้าหมายที่โรงพยาบาล โดยกลุ่มผู้ก่อการทั้งหมดปลอมตัวเป็นผู้โดยสารนั่งรถประจำทางสายสวนผึ้ง-ราชบุรี แล้วใช้ปืนเอ็ม-16 จี้คนขับให้ไปยังโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี ก่อนที่จะทำการบุกยึดโรงพยาบาล จับแพทย์ พยาบาล และผู้ป่วยพับพันชีวิตเป็นตัวประกัน

25 ธันวาคม ‘วันคริสต์มาส’ ยึดถือเป็นวันประสูติของ ‘พระเยซู’ ศาสดาแห่งศาสนาคริสต์

วันที่ 25 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคริสต์มาส วันสำคัญของคริสต์ศาสนิกชน ซึ่งยึดถือกันว่าเป็นวันเกิดของพระเยซู ศาสดาแห่งศาสนาคริสต์

วันคริสต์มาส ตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี เป็นเทศกาลทางศาสนาเพื่อรำลึกวันประสูติของ พระเยซู ศาสดาของศาสนาคริสต์ ที่พวกเขาเชื่อกันว่าพระองค์เป็นโอรสของเทพแห่งพระอาทิตย์ โดยคำว่า คริสต์มาส มาจากคำว่า ‘Mass of Christ’ หรือ ‘พิธีมิสซาของพระคริสต์’

โดยพบคำนี้ครั้งแรกในเอกสารโบราณในปี ค.ศ. 1038 ภายหลังแปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas สำหรับประวัติความเป็นมาของวันคริต์มาส ซึ่งเป็นวันเกิดของพระเยซูนั้น ตามหลักฐานในพระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซ่าร์ ออกัสตัสแห่งโรมัน ทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็ขานรับนโยบาย อย่างไรก็ตามในพระคัมภีร์ไม่ได้ระบุว่าพระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร

5 ธันวาคม วันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ

5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และภายหลังการเสด็จสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 สำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกประกาศ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เรื่อง กำหนดวันสำคัญของชาติไทย มีใจความสำคัญให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันสำคัญของชาติไทย ดังนี้ 

1. เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 

2. เป็นวันชาติ 

3. เป็นวันพ่อแห่งชาติ

โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป 

4 ธันวาคม ‘วันสิ่งแวดล้อมไทย’ รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวง ร.9 ที่ทรงมีพระราชดำรัสถึงสิ่งแวดล้อมไทย

วันที่ 4 ธันวาคม ของทุกปี เป็น ‘วันสิ่งแวดล้อมไทย’ กำหนดขึ้นเพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงมีพระราชดำรัสถึงสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

วันที่ 4 ธันวาคม ของทุกปี เป็น ‘วันสิ่งแวดล้อมไทย’ กำหนดขึ้นเพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงมีพระราชดำรัสถึงสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและสถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลก เมื่อครั้งเสด็จออกให้คณะบุคคลต่าง ๆ เข้าเฝ้าถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลา ดุสิดาลัย พระตำหนัก จิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2532 เพื่อตรัสเตือนคนไทยให้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก โดยเฉพาะปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก และให้ถือว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องร่วมมือกันแก้ไข้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้มีพระราชดำรัสใจความตอนหนึ่งว่า

“วันก่อนนี้เราพูดถึงปัญหาว่า เมืองไทยนี้อีกหน่อยจะแห้ง ไม่มีน้ำเหลือจะต้องไปซื้อน้ำจากต่างประเทศซึ่งก็อาจเป็นได้ แต่เชื่อว่าจะไม่เป็นอย่างนั้นเพราะว่าถ้าคำนวณดูน้ำในประเทศไทยที่ไหลเวียนนั้นยังมีอยู่ เพียงแต่ต้องบริหารให้ดี ถ้าบริหารให้ดีแล้ว มีเหลือเฟือ มีตัวเลขแล้ว แต่ว่ายังไม่ได้ไปแยกแยะตัวเลข เหมือนที่ได้แยกแยะตัวเลขของคาร์บอน น้ำนั้นน่ะ ในโลกมีมากแล้วที่ใช้จริงๆ มันเป็นเศษหนึ่งส่วนหมื่นของน้ำที่มีอยู่ อาจไม่ถึง ก็ต้องบริหารให้ดีเท่านั้นเอง เดี๋ยวนี้ก็มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำ น้ำนี้จะต้องใช้ให้ดี คือ น้ำนั้นมีคุณอย่างที่เราใช้สำหรับบริโภค น้ำสำหรับการเกษตร น้ำสำหรับอุตสาหกรรมทั้งหมดนี้ต้องใช้น้ำที่ดี หมายความว่าน้ำที่สะอาด”

“น้ำมีมากในโลก เป็นน้ำทะเลส่วนใหญ่ซึ่งจะใช้อย่างนี้ไม่ได้แล้ว นอกจากนั้นเดี๋ยวนี้ที่กำลังมีมากขึ้นก็คือ น้ำเน่า จะต้องป้องกันไม่ให้มีน้ำเน่า น้ำเน่าจะมีอยู่เสมอ แต่อย่าให้น้ำเน่านั้นเป็นโทษมากเกินไป ฉะนั้น นี่เป็นอีกโครงการหนึ่งที่เราจะต้องปฏิบัติ แล้วก็ถ้าไม่จัดการโดยเร็วเราจะนอนอยู่ในน้ำเน่า น้ำดีจะไม่มีใช้แม้จะไปซื้อน้ำจากต่างประเทศมา ก็กลายเป็นน้ำเน่าหมด เพราะว่าเอามาใช้โดยไม่ได้ระมัดระวัง”

“ถ้าเรามีน้ำแล้วมาใช้อย่างระมัดระวังข้อหนึ่ง และควบคุมน้ำที่เสียอย่างดีอีกข้อหนึ่ง ก็อยู่ได้ เพราะว่าภูมิประเทศของประเทศไทย ‘ยังให้’ ใช้คำว่า ‘ยังให้’ ก็หมายความว่า ยังเหมาะแก่การอยู่กินในประเทศนี้ ไม่ใช่ไม่เหมาะ ประเทศไทยนี้เป็นที่ที่เหมาะมากในการตั้งถิ่นฐาน แต่ว่าต้องรักษาเอาไว้ไม่ทำให้ประเทศไทยซึ่งเป็นสวนเป็นนากลายเป็นทะเลทรายก็ป้องกันได้ ทำได้”

วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 ก่อตั้ง โรงเรียนเกษตราธิการ ต้นกำเนิดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 โรงเรียนเกษตราธิการ ได้ถือกำเนิดขึ้น ณ วังประทุมวัน โดยที่กระทรวงเกษตราธิการได้ทำการรวบรวมโรงเรียนที่อยู่ในสังกัดของกระทรวง 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนแผนที่ (จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2425) โรงเรียนกรมคลอง (จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2448) และโรงเรียนวิชาการเพาะปลูก เป็นโรงเรียนเดียวกันเพื่อผลิตคนเข้ารับราชการในกรมกองต่างๆ ของกระทรวงเกษตราธิการ ถือได้ว่าเป็นหลักสูตรระดับอุดมศึกษาวิชาเกษตรศาสตร์ หลักสูตรแรกของประเทศไทย โดยได้เริ่มดำเนินการสอนหลักสูตรใหม่นี้ในปี พ.ศ. 2452

ต่อมาโรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการจากเดิมที่สังกัดกระทรวงเกษตราธิการจึงย้ายมาสังกัดกระทรวงธรรมการ ในปี พ.ศ. 2456 โดยใช้ วังวินด์เซอร์ เป็นสถานที่ทำการเรียนการสอนของโรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการที่ยุบเข้ารวมกับโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน)

22 พฤศจิกายน พ.ศ.2531 ท่อนซุงและโคลนถล่ม ‘กะทูน’ อ.พิปูน โศกนาฏกรรมครั้งใหญ่จากภัยธรรมชาติ

ย้อนไปเมื่อ 34 ปีก่อน เกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่จากภัยธรรมชาติ หลังฝนตกหนักพัดพาดินโคลนและท่อนซุง ถล่มหมู่บ้านในตำบลกะทูน อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช คร่าชีวิตหลายร้อยคน

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ที่ตำบลกะทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช เกิดเหตการณ์ดินโคลนและท่อนซุงที่ไหลมากับน้ำถล่มบ้านเรือนเสียหายไปกว่า 1,500 หลัง พื้นที่การเกษตรอีก 6,150 ไร่ มีผู้เสียชีวิตถึง 700 คน ผู้คนที่รอดชีวิตต้องย้ายออกจากที่อยู่อาศัยเดิม และไม่สามารถกลับเข้าไปอยู่ได้อีก

ก่อนเกิดเหตุการณ์ครั้งนั้นราว 3-4 วัน ได้เกิดพายุดีเพรสชั่น มีฝนตกปรอยๆ ต่อเนื่องมาหลายวัน ทำให้ดินบนภูเขาซับน้ำไว้จนชุ่มโชก และเมื่อฝนยังเพิ่มปริมาณน้ำอีกไม่หยุด ดินที่รับน้ำหนักไว้มากจนเกินกำลัง ก็ลื่นไถลลงมาตามทางลาด ทำให้ดินที่อยู่ด้านล่างต้องถล่มลงมาด้วย พร้อมต้นไม้ป่าและต้นยางพาราที่ชาวบ้านขึ้นไปปลูกไว้บนเขาถูกถอนรากถอนโคน กลายเป็นอาวุธของกระแสน้ำกวาดบ้านเรือนและชีวิตผู้คนไปกับกระแสน้ำ อีกทั้งยังมีโคลนดินตามมาถล่มทับ

นอกจากนี้ ตำบลกะทูนซึ่งภูมิประเทศเป็นแอ่งรับน้ำมีพื้นที่ 70 ตารางกิโลเมตรนี้ มีลำธารหลายสายรับน้ำจากเชิงเขาโดยรอบมารวมลงในคลองกระทูน แต่มีทางน้ำไหลออกกว้างเพียง 70 เมตรเท่านั้น เมื่อถูกต้นไม้บนเขาและไม้ในสวนที่ชาวบ้านปลูกไหลมาปิดทางน้ำออก ระดับน้ำในแอ่งกะทูนจึงสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ฝังกลบทุกสิ่งทุกอย่างและทุกชีวิตไว้ใต้น้ำ

14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวัน ‘พระบิดาแห่งฝนหลวง’ น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวง ร.9

67 ปีแห่งการกำเนิดฝนหลวงพระราชทาน นับจากวันที่ 14 พฤศจิกายน 2498 เป็นวันที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรางมีทรงมีพระราชดำริที่จะคิดค้น วิจัย หาวิธีการทำฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ประสบภัยแล้ง

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริที่จะคิดค้น วิจัย หาวิธีการทำฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ประสบภัยแล้ง ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 เฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่าน ในฐานะทรงเป็น 'พระบิดาแห่งฝนหลวง' และกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น 'วันพระบิดาแห่งฝนหลวง' เพื่อร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นหาที่สุดมิได้ และจารึกไว้เป็นวันสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย       

เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริโครงการฝนหลวงขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ทรงศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการ อุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร จากพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง นับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทำให้ทรงพบเห็นว่า ภาวะแห้งแล้งได้มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นตามลำดับ เพราะการตัดไม้ทำลายป่า เป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรในทุกภาคของประเทศ ส่งผลถึงความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวมของชาติ คิดเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี  

ทั้งนี้ ระหว่างทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน และทางอากาศยาน พระองค์ทรงสังเกตเห็นว่า มีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดเป็นฝนตกได้ 

13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เกิดเหตุก่อการร้าย ณ กรุงปารีส คร่า 153 ชีวิต ร้ายแรงสุดนับแต่สงครามโลกครั้งที่ 2

ค่ำคืนของวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2558 เกิดเหตุก่อการร้ายในกรุงปารีสและเมืองแซ็ง-เดอนี (ย่านชานกรุงปารีสทางทิศเหนือ) ประเทศฝรั่งเศส โดยฝีมือของกลุ่มก่อการร้าย ISIL

ในช่วงกลางคืนของวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เกิดเหตุก่อการร้ายซึ่งประกอบด้วยการกราดยิง การระเบิดฆ่าตัวตาย และการจับตัวประกันในกรุงปารีสและเมืองแซ็ง-เดอนี (ย่านชานกรุงปารีสทางทิศเหนือ) ประเทศฝรั่งเศส เริ่มตั้งแต่เวลา 21:16 น. ตามเวลายุโรปกลาง เกิดเหตุกราดยิงผู้คน 6 จุด และระเบิดฆ่าตัวตายอีก 4 จุด รวมถึงที่บริเวณใกล้กับสตาดเดอฟร็องส์ (สนามกีฬาแห่งชาติ) ซึ่งกำลังมีการแข่งขันฟุตบอลนัดกระชับมิตรระหว่างทีมชาติฝรั่งเศสกับทีมชาติเยอรมนี การโจมตีที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดอยู่ที่โรงมหรสพบาตากล็อง (Bataclan) ที่ซึ่งผู้ก่อเหตุได้จับผู้ชมคอนเสิร์ตเป็นตัวประกันและเผชิญหน้ากับตำรวจจนสิ้นสุดลงเมื่อเวลา 00:58 น. ของวันที่ 14 พฤศจิกายน

จากเหตุการณ์นี้ มีพลเรือนเสียชีวิตอย่างน้อย 153 คน โดย 89 คนในจำนวนนี้อยู่ที่โรงมหรสพบาตากล็อง และมีผู้ได้รับบาดเจ็บระหว่างเหตุโจมตีอีก 352 คน โดยมี 99 คนที่ได้รับการระบุว่ามีอาการสาหัส นอกจากพลเรือนที่ประสบความสูญเสียแล้วยังมีผู้ก่อเหตุเสียชีวิต 7 คน และทางการกำลังค้นหาผู้ร่วมก่อเหตุที่ยังหลบหนี 

12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เครื่องบินซาอุฯ – คาซัคฯ ชนสนั่นกลางอากาศ เสียชีวิตหมดยกสองลำ รวม 349 ชีวิต

วันนี้ของเมื่อ 26 ปีก่อน หรือเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ได้เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินชนกันกลางอากาศที่ประเทศอินเดีย ส่งผลให้ผู้โดยสารของทั้งสองลำ เสียชีวิตทั้งหมด รวม 349 คน

เหตุการณ์สุดสลดดังกล่าว เกิดขึ้นจากเครื่องบินลำหนึ่ง เป็นเครื่องบินโดยสารที่เดินทางจาก ‘คาซัคสถาน’ และกำลังจะลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติ ‘อินทิรา คานธี’ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย

เกิดชนกันกับเครื่องบินโดยสารอีกลำหนึ่งคือสายการบินของซาอุดีอาระเบีย ที่ขึ้นบินจากท่าอากาศยานเดียวกัน โดยมีปลายทางคือ ‘ซาอุดีอาระเบีย’

โดยตำแหน่งที่เกิดอุบัติเหตุอยู่ใกล้กับเมืองจรรขีทาทรี รัฐหรยาณา ประเทศอินเดีย เหตุการณ์นี้จึงเป็นที่รู้จักกันในภาษาอังกฤษว่า ‘เหตุเครื่องบินชนกันกลางอากาศที่จรรขีทาทรี’

ผลคือ ผู้โดยสารและลูกเรือบนเครื่องบินทั้งสองลำรวมทั้งสิ้น 349 คนเสียชีวิตทั้งหมด!!

นั่นจึงทำให้เหตุการณ์นี้ ถือเป็นอุบัติเหตุเครื่องบินชนกันกลางอากาศที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในโลก เป็นอุบัติเหตุทางการบินที่ร้ายแรงที่สุดในประเทศอินเดีย และเป็นอุบัติเหตุทางการบินที่ร้ายแรงที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ในโลก รองจากเหตุการณ์เครื่องบินชนกันที่ท่าอากาศยานเตเนริเฟในหมู่เกาะคะแนรี ประเทศสเปนในปี พ.ศ. 2520 และอุบัติเหตุเจแปนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 123 ตกที่ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2528

สำหรับเหตุการณ์นี้ เครื่องลำหนึ่งเป็นเครื่องบินโบอิง 747 ของสายการบินซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์ หรือเที่ยวบินที่ 763 ส่วนอีกลำหนึ่ง คือ เครื่องบินอิลยูชิน อิล-76 ของสายการบินคาซัคสถานแอร์ไลน์ หรือ เที่ยวบินที่ 1907

รายละเอียดของเครื่องบินทั้งสองเที่ยวบินนี้ คือ เที่ยวบินที่ 763 เป็นเที่ยวบินเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย โดยมีกำหนดลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติอัซเซาะฮ์รอน เมืองอัซเซาะฮ์รอน ทางตะวันออกของประเทศซาอุดีอาระเบีย ก่อนจะเดินทางต่อไปยังท่าอากาศยานนานาชาติสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซ เมืองญิดดะฮ์ ทางตะวันตกของซาอุดีอาระเบีย

โดยใช้เครื่องบินโบอิง 747-168 บี หมายเลขทะเบียน HZ-AIH ขณะที่เกิดเหตุเครื่องบินลำนี้มีอายุ 14 ปี 10 เดือน มีผู้โดยสารบนเครื่องบินลำนี้ 289 คน และลูกเรือ 23 คน

ผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นชาวอินเดีย ซึ่งเดินทางไปทำงานหรือไปแสวงบุญที่ซาอุดีอาระเบีย และมีชาวต่างชาตินอกเหนือจากอินเดียและซาอุดีอาระเบียอยู่ด้วย 17 คน

ส่วนเที่ยวบินที่ 1907 เป็นเที่ยวบินเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติชิมเคนต์ เมืองชิมเคนต์ ทางตอนใต้ของประเทศคาซัคสถาน มายังท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี กรุงนิวเดลี

โดยใช้เครื่องบินอิลยูชิน อิล-76ทีดี หมายเลขทะเบียน UN-76435 โดยขณะเกิดเหตุเครื่องบินลำนี้มีอายุ 4 ปี ในรายงานข่าวแต่แรกนั้นระบุว่ามีคนบนเครื่องบินทั้งหมด 39 คน

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของสายการบินคาซัคสถานแอร์ไลน์ได้แจ้งว่ามีคนบนเครื่องบินเพียง 37 คน โดยเป็นลูกเรือ 10 คน และผู้โดยสาร 27 คน

ซึ่งเที่ยวบินนี้เป็นเที่ยวบินเหมาลำ โดยมีบริษัทเสื้อผ้าแห่งหนึ่งในประเทศคีร์กีซสถานเป็นผู้เช่า ผู้โดยสาร 13 คนบนเครื่องบินลำนี้ถือสัญชาติคีร์กีซ

ระหว่างที่ คาซัคสถานแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 1907 ใกล้ถึงท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี ได้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศของเดลีตามปกติ ซึ่งเจ้าหน้าที่สั่งให้เที่ยวบินที่ 1907 ลดระดับลงมาที่ 15,000 ฟุต

หากแต่ในขณะนั้น ซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 763 ก็ได้ทำการขึ้นบินจากท่าอากาศยาน และมุ่งหน้าไปในเส้นทางบินเดียวกัน ซึ่งสวนทางกับเที่ยวบินที่ 1907

เสี้ยวนาทีนั้น เจ้าหน้าที่จึงสั่งให้เที่ยวบินที่ 763 ไต่ระดับขึ้นไปที่เพดานบิน 14,000 ฟุต เที่ยวบินที่ 1907 เมื่อลดระดับถึง 15,000 ฟุตแล้วก็รายงานต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจร

เจ้าหน้าที่ได้แจ้งเตือนเที่ยวบินที่ 1907 ว่าเที่ยวบินที่ 763 กำลังมุ่งหน้าสวนทางกัน อย่างไรก็ตาม ที่จริงแล้วเที่ยวบินที่ 1907 ไม่ได้รักษาระดับความสูงอยู่ที่ 15,000 ฟุต หากแต่กำลังลดระดับลงมาโดยในขณะนั้นอยู่ที่ระดับความสูง 14,500 ฟุตและกำลังลดระดับต่อไปอีก


© Copyright 2022, All rights reserved. South Time Thailand
Take Me Top