สืบสานประเพณีลาซัง

ที่แปลงนาข้าว ตำบลมะรือโบตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 / ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส /ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เดินทางมาเป็นประธาน เปิดกิจกรรม พหุวัฒนธรรม ”ลงแขกเกี่ยวข้าว” สืบสานประเพณีลาซังรักษ์วิถีถิ่น ร่วมกินข้าวใหม่ บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เสริมสร้างสัมพันธภาพพี่น้องชายแดนใต้ โดยมี พันเอก ทวีรัตน์ เบญจาทิกุล ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 45 ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอระแงะ นายอำเภอระแงะ ประธานองค์กรภาคประชาชนเพื่อสันติและเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดนราธิวาส กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา หัวหน้าส่วนราชการ ตลอดจน พี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ และพี่น้องประชาชนไทยพุทธ ไทยมุสลิม เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

 

ทั้งนี้ พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว กล่าวว่า พื้นที่อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส เป็นแหล่งปลูกข้าวของจังหวัด ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ มีการปลูกสืบทอดกันจนเป็นวิถีชีวิต แต่ด้วยสภาพความเปลี่ยนไป ของบริบททั้งด้านสังคมและพื้นที่ ทำให้พื้นที่ในการทำนาลดลง แต่ข้าวเป็นพืช ที่มีความสำคัญในการสร้างความมั่นคงในครัวเรือนและชุมชน กระผมต้องขอชื่นชมท่านทั้งหลาย ที่รวมกลุ่มกันปลูกข้าว ร่วมกันพัฒนาการผลิต และการตลาดสิ่งที่ได้จากกิจกรรมการลงแขกเกี่ยวข้าวในวันนี้ นอกจากจะเป็นการลดต้นทุนแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมความรัก ความสามัคคี ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความร่วมมือของคนในชุมชน ที่จะอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งมีความหลากหลายสอดคล้องกับนโยบาย ของ พลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ที่ต้องการให้พี่น้องประชาชนมีส่วนร่วม ในกระบวนการเสริมสร้างสันติสุขอย่างยั่งยืน และพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ก่อเกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จนสามารถนำมาสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข บนสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างแท้จริง

 

โดยกิจกรรม พหุวัฒนธรรม ”ลงแขกเกี่ยวข้าว” สืบสานประเพณีลาซังรักษ์วิถีถิ่น ร่วมกินข้าวใหม่ บนพื้นฐาน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เสริมสร้างสัมพันธภาพพี่น้องชายแดนใต้ จัดขึ้นเพื่อเป็นการฟื้นฟูรักษา ประเพณีอันสวยงามในการร่วมมือ ร่วมใจ ช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน ของสังคมพหุวัฒนธรรม ของพี่น้องประชาชนไทยพุทธ พี่น้องประชาชนไทยมุสลิมในพื้นที่ ซึ่งมีมาตั้งแต่อดีต ซึ่งสังคมพหุวัฒนธรรม ไม่ใช่มีแค่เรื่องลงแขกเกี่ยวข้าว ยังมีเรื่องราวต่าง ๆ อีกหลายกิจกรรม ที่เป็นภูมิปัญญาของคนสมัยก่อนได้ทิ้งไว้เป็นมรดก ให้เราได้สืบสานต่อไป เพราะมัน เป็นเครื่องมือสําคัญ ของกระบวนการสร้างความรัก ความร่วมมือ ความสามัคคี ที่สามารถยึดเหนี่ยวจิตใจ ของการอยู่ร่วมกัน ในการสร้างสังคมให้เกิดความผาสุกได้ และเป็นพลเมืองในบริบทของสังคมพหุวัฒนธรรม กระตุ้นให้เกิดกลไก การจัดการ ชุมชน ตามธรรมชาติ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ศักยภาพผู้นํา และประชาชนให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ทรัพยากร ภูมิปัญญา และวิถีชุมชน รวมถึงการแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ สู่แนวคิดความ เป็น "พลเมืองไทย ในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม" น้อมนําศาสตร์พระราชาและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจัง ตลอดจน กิจกรรมลงแขกเกี่ยวข้าว เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สร้างให้ทั้ง 2 ศาสนาได้มีความรักความสามัคคีกันได้ ผลผลิตข้าวนำมาบริโภค และจำหน่ายสร้างรายได้แก่พี่น้องเกษตรกร อีกทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของบรรพชนรุ่นก่อนให้คนรุ่นหลัง หรือรุ่นปัจจุบันได้ปฏิบัติสืบเนื่องกันต่อไป นับว่าเป็นสิ่งที่ดี และที่สำคัญคือได้สร้างความมีส่วนร่วม ความสามัคคีปรองดองระหว่างพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมสืบไป

 

ที่มา : แวดาโอ๊ะ หะไร จ.นราธิวาส