Tuesday, 16 April 2024
กระทรวงสาธารณสุข

ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ตอบโต้กรณีแพทย์อ้างบุหรี่ไฟฟ้าพุ่งเป้าเยาวชน ชี้ต้องเร่งเอากฎหมายมาควบคุมแทนการแบน

เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าทักท้วง หลังเครือข่ายแพทย์อ้างบุหรี่ไฟฟ้าพุ่งเป้าเยาวชน ย้ำชัดไม่สนับสนุนให้เด็กใช้บุหรี่ไฟฟ้า แต่การแบนยิ่งทำให้บุหรี่ไฟฟ้าหาซื้อได้ง่ายโดยไม่มีการควบคุม จี้หยุดกลบความล้มเหลวของมาตรการแบนด้วยการเผยแพร่งานวิจัยที่ยังมีช่องโหว่ แต่ควรปลดล๊อคบุหรี่ไฟฟ้าแล้วใช้กฎหมายมาควบคุม

นายอาสา ศาลิคุปต ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า กลุ่มลาขาดควันยาสูบ (ECST) ให้ข้อมูลตอบโต้กรณีงานเสวนาของเครือข่ายที่ต่อต้านบุหรี่ไฟฟ้าซึ่งให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงว่า...“ก่อนหน้านี้ เครือข่ายแพทย์ก็เคยอ้างถึงผลวิจัยว่าเยาวชนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีแนวโน้มจะสูบบุหรี่ธรรมดาเพิ่มขึ้น และกล่าวอ้างถึง Gateway Effects นั้น หากลองมาเปิดงานวิจัยอ่านดูดีๆจะเห็นเลยว่ามีช่องโหว่เยอะมาก ตั้งแต่จำนวนกลุ่มตัวอย่างจนถึงขั้นตอนวิจัย อีกทั้งผลวิจัยดังกล่าวก็ช่วยยืนยันว่าการแบนยิ่งทำให้เด็กเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าใต้ดินได้โดยไร้กฎหมายควบคุม
 

'อนุทิน' ชวน กลุ่ม 608 ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ชี้ หากติดอาการไม่แรง

เมื่อเวลา 09.10 น.วันที่ 20 ธ.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ก่อนประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงกรณีที่มีผู้ติดเชื้อโควิด -19 ในช่วงเวลานี้เพิ่มขึ้น ว่า ยืนยันว่าประชาชนควรจะฉีดวัคซีนเข็มบูส และควรจะฉีดอย่างน้อย 4 เข็ม เพื่อจะได้มีความปลอดภัย แม้จะติดเชื้อก็ตาม

ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า กระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการอย่างไรในช่วงปีใหม่ ที่หลายคนคาดการณ์ว่ายอดติดเชื้อจะสูงขึ้น นายอนุทิน กล่าวว่า เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนแล้ว บางคนมีภูมิคุ้มกันธรรมชาติแล้ว ถึงติดเชื้อน่าจะไม่มีอาการหนัก ยกเว้นกลุ่ม 608 โรคประจำตัว เช่น โรคไต มะเร็ง ทางเดินหายใจ และผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน ขอให้ลูกหลานและญาติ ช่วยโน้มน้าวให้มาฉีดวัคซีน และเวลานี้ถ้าคนไทยติดเชื้อ ก็มียารักษาโควิดโดยตรง รวมถึงยารักษาตามอาการ

ไม่พึ่งต่างชาติ!! ‘อนุทิน’ ปลื้ม!! วิจัยวัคซีนโควิด รุดหน้าเฟส 3 แล้ว เชื่อ!! หากผลิตใช้เองได้ ไทยจะมั่นคงด้านวัคซีน

‘อนุทิน’ เปิดทดลองวัคซีนโควิด HXP-GPOVac ของ อภ. ในคนเฟส 3 ตื้นตันจุกอก ‘อาสาสมัคร 4 พันคน’ เข้าร่วม ย้ำเป็นตัวเปลี่ยนเกม ตีไข่แตกสำเร็จทำไทยมีความมั่นคงวัคซีน ช่วยประหยัดงบประมาณ ส่งออกต่างประเทศ สร้างความร่วมมือต่างชาติขยายต่อยอด อภ.เผยเล็งวิจัยต่อในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี

(23 ธ.ค. 65) ที่ศาลากลางจังหวัดนครพนม นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) นพ.ทวีศิลป์ วิศณุโยธิน รองปลัด สธ. นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผอ.อภ. และ นพ.นคร เปรมศรี ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ แถลงข่าววิจัยทางคลินิกระยะที่ 3 เพื่อประเมินความปลอดภัยและความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของวัคซีน HXP-GPOVac ขนาด 10 ไมโครกรัมในรูปแบบเข็มกระตุ้นเปรียบเทียบกับวัคซีนโควิด-19 ชนิดที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ พร้อมเยี่ยมชมการเริ่มฉีดวัคซีนในอาสาสมัคร ซึ่งเริ่มวันนี้เป็นวันแรก - 11 ม.ค. 2565

นายอนุทินกล่าวว่า วัคซีนโควิด HXP-GPOVac หนึ่งในโครงการวิจัยที่คืบหน้าที่สุดของไทย มาถึงจุดวิจัยทางคลินิกในระยะที่ 3 ถือเป็นพัฒนาการอีกหนึ่งขั้นในการสร้างภูมิคุ้มกันในประเทศไทย ต้องขอคารวะอาสาสมัคร 4 พันคน มีทั้งประชาชนและ อสม. ถือว่าเป็นวีรบุรุษวีรสตรี ที่เป็นผู้ที่จะทำให้การพัฒนาวิจัยวัคซีนเกิดผลสำเร็จ มีคุณูปการต่อประชาชนไทยและประเทศ แต่ไม่ต้องกังวล วัคซีนผ่านการทดสอบระยะที่ 1 และ 2 ว่าปลอดภัย ถึงนำมาทดสอบจำนวนมากในระยะที่ 3 เป็นรูปแบบเชื้อตายที่คนไทยคุ้นเคยดีว่าปลอดภัย อย่างวัคซีนไข้หวัดใหญ่

นายอนุทินกล่าวว่า วันนี้ไม่มีวัคซีนตัวไหนป้องกันการติดเชื้อโควิดได้ แต่ทุกตัวทำให้ผู้ที่ติดเชื้อไม่มีอาการรุนแรงและไม่เสียชีวิต หากได้รับวัคซีนตามที่ สธ.กำหนดแนะนำ ทั้งนี้ ถ้าการทดสอบได้ผลน่าพอใจ ก็พร้อมจะผลิตวัคซีนตัวนี้เป็นเข็มกระตุ้นจากโรงงานผลิตยาของ อภ.ที่มีคุณภาพระดับโลก เงินทองก็จะไม่รั่วไหลออกนอกประเทศ เสริมสร้างความมั่นคงของระบบสาธารณสุขไทย

"ทราบว่าอาสาสมัครเป็น อสม. เชื่อว่าคนไทยทุกคนที่รับฟังข้อมูลนี้ก็จะรู้สึกจุกอกด้วยความปลื้มใจและศรัทธาที่มีให้กับ อสม. ที่ทุ่มเทด้านสาธารณสุข ในนามรัฐบาล สธ. และบุคลากรทางการแพทย์ ขอบคุณทุกคนทุกหน่วยงาน ทั้งในและต่างประเทศที่ช่วยกันให้ไทยจะมีวัคซีนป้องกันโควิดจากฝีมือคนไทย ตอกย้ำขีดความสามารถของไทยในการดูแลประชาชนให้มีความมั่นคงด้านสุขภาพอย่างยั่งยืน" นายอนุทินกล่าว

นพ.เกียรติภูมิกล่าวว่า ช่วงโควิดระบาดเราเห็นจุดอ่อนความมั่นคงทางยาและวัคซีน รัฐบาลให้การสนับสนุนองค์กรต่าง ๆ พัฒนาวิจัยวัคซีนมีหลายรูปแบบ อภ.ใช้เทคโนโลยีไข่ไก่ฟักและแบบเชื้อตาย มีความก้าวหน้าสูงสุดทำได้ในเฟส 3 โดยจะเปรียบเทียบกับไวรัลเวกเตอร์คือแอสตร้าเซนเนกา หวังว่าจะใกล้เคียงกันเรื่องคุณภาพ จะเป็นวัคซีนของคนไทย โดยจะทดลองวัคซีนในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีด้วยจะได้ใช้ในทุกกลุ่มอายุ หากมีความสำเร็จจะทำให้คนไทยมีความมั่นคง กลับไปสู่ภาวะปกติสุข มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ท่องเที่ยว และการพึ่งพาตนเอง

‘อนุทิน’ แจงมาตรการป้องกันโควิดรับนักท่องเที่ยวยึดหลักเท่าเทียมทุกชาติ เน้นรับวัคซีน มีประกันสุขภาพ ตรวจสายพันธุ์ไวรัสในน้ำเสียจากเครื่องบินเพื่อการเฝ้าระวัง

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แจงมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 ในกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน เตรียมเสนอวันที่ 5 มกราคมนี้ ยึดหลักปฏิบัติเท่าเทียมกันทุกชาติและเป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการ ตรวจเฝ้าระวังเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ในน้ำเสียจากเครื่องบิน ผู้เดินทางต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อย 2 เข็ม มีประกันสุขภาพครอบคลุมการรักษาโควิด-19 พร้อมสื่อสารมาตรการป้องกันตนเอง คาดนักท่องเที่ยวจีนจะทยอยเดินทางมาไตรมาสแรก 3 แสนคน สามารถวางแผนรับมือได้อย่างเป็นระบบ

(4 ม.ค.66) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แถลงถึงสถานการณ์โรคโควิด-19 และการเตรียมความพร้อมรองรับผู้เดินทางจากประเทศจีน ภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข ว่า สถานการณ์โรคโควิด 19 ของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง โดยข้อมูลวันที่ 25-31 ธันวาคม 2565 มีผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาล 2,111 ราย เฉลี่ย 301 รายต่อวัน ผู้ป่วยปอดอักเสบ 529 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 352 ราย และผู้เสียชีวิต 75 ราย เฉลี่ย 10 รายต่อวัน โดยเกือบทั้งหมดยังเป็นกลุ่มเสี่ยง 608 ที่ไม่ได้รับวัคซีน ได้รับวัคซีนไม่ครบ ไม่ได้รับเข็มกระตุ้น หรือได้รับเข็มกระตุ้นนานเกิน 3 เดือนขึ้นไป โดยกระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ทุกคนฉีดวัคซีนให้ครบ 4 เข็ม เว้นระยะห่างทุก 4 เดือน ซึ่งช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีการรับบริการวัคซีนเพิ่มขึ้น 277,206 โดส สะสม 145,928,256 โดส โดยเป็นเข็มแรกร้อยละ 82.7 เข็มที่ 2 ร้อยละ 77.7 เข็มที่ 3 ร้อยละ 38.9 และเข็มที่ 4 ร้อยละ 9.1

นายอนุทิน กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีจีนเตรียมเปิดประเทศ จากการประมาณการนักท่องเที่ยวจีนในไตรมาสแรก (มกราคม-มีนาคม 2566) มีประมาณ 3 แสนคน คิดเป็น 5% ของนักท่องเที่ยวทุกชาติรวมกัน คาดว่ามกราคมจะเข้ามา 60,000 คน กุมภาพันธ์ 90,000 คน และมีนาคม 150,000 คน โดยจะเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากปัจจุบันยังมีเที่ยวบินจำกัด มีระยะเวลาในการขอทำหนังสือเดินทางและการขอวีซ่า และรัฐบาลจีนยังไม่อนุญาตให้บริษัทนำเที่ยวนำกลุ่มทัวร์ออกนอกประเทศ ผู้เดินทางจะเป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางด้วยตัวเองและเป็นกลุ่มนักเดินทางระดับบนที่มีกำลังซื้อ

‘อนุทิน’ ย้ำ มาตรการดูแลนักท่องเที่ยวทุกชาติเท่าเทียม ชี้ ปรับตามสถานการณ์ที่เปลี่ยน วอน อย่าตั้งป้อมรับจีน เพราะไม่เคยขัดแย้งกัน

(5 ม.ค.66) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมเตรียมความพร้อมรับผู้เดินทางเข้าประเทศจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เร้นท์ ว่า วันนี้ข้อสรุปแต่ละมาตรการมีอยู่แล้ว และจะนำมาหารือและแจ้งให้แต่ละหน่วยงานทราบในการต้อนรับนักท่องเที่ยวจีนที่จะเขามาในไทย ที่คาดว่าในต้นปีจะมีประมาณ 4-5 หมื่นคน และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้รับทราบมาตรการรองรับสถานการณ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน แล้วจะสอบถามกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เรื่องค่าเหยียบแผ่นดิน ที่เปรียบเหมือนการทำประกันของนักท่องเที่ยว ที่จะต้องดูนักท่องเที่ยวที่เจ็บป่วย ไม่เฉพาะโควิด-19 จะมีผลบังคับใช้เมื่อไหร่ จะได้มีงบประมาณดำเนินการ ขณะที่ระบบสาธารณสุขของไทย ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก็มีงบประมาณก้อนหนึ่งสำหรับดูแลนักท่องเที่ยวต่างชาติเช่นกัน

ผู้สื่อข่าวถามว่านักท่องเที่ยวจีนจะต้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทันทีที่ถึงสนามบินหรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า เรื่องนี้กรมควบคุมโรค จะกำหนดมาตรการออกมาตามสถานการณ์ และจะมีข้อกำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติ และต้องทำเต็มที่กับทุกประเทศอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

เมื่อถามว่ามาตรการป้องกันกรณีที่นักท่องเที่ยวจะเดินทางเข้ามาครั้งนี้แตกต่างจากที่ผ่านมาอย่างไร นายอนุทิน กล่าวว่า เราจะใช้มาตรการที่มีอยู่เดิมให้มากที่สุด และเรารับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะกับจีน แต่อีกทางจะต้องเน้นที่ตัวเองต้องหุ้มเกราะ คือฉีดวัคซีนให้เรียบร้อยก่อน อย่างน้อย 4 เข็มเพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงโดยสวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะและพื้นที่แออัด ในส่วนของนักท่องเที่ยวจีน เขามีการตรวจก่อนเดินทางออกนอกประเทศและเมื่อกลับเข้าประเทศ ในขณะที่สถานทูตจีน ได้ประสานกับโรงพยาบาลที่จะทำการรักษาไว้เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้นักท่องเที่ยว ที่เข้ามาสามารถเดินทางไปได้ทั่วประเทศ ไม่ได้แบ่งว่าเป็นนักท่องเที่ยวชาติไหน เพราะเราถือว่าเป็นนักท่องเที่ยวทั้งหมด แต่ละคนก็มาจากประเทศที่มีการติดเชื้ออยู่ที่ว่าจะเป็นเชื้อใหม่หรือเก่า ถ้าเป็นเชื้อใหม่ มาตรการรับมือก็เปลี่ยนได้ ดังนั้นอย่านำมาตรการของไทยไปเทียบกับประเทศอื่น เพราะนี่ประเทศไทยไม่เหมือนกัน

‘อนุทิน’ ชี้ ประเทศไหนที่ต้องตรวจโควิดก่อนกลับ ต้องซื้อประกันสุขภาพ ไม่เฉพาะแค่ประเทศจีน

‘อนุทิน’ ยันมาตรการรับ ‘นักท่องเที่ยวต่างชาติ’ รัดกุม เผยให้ซื้อประกันสุขภาพ สำหรับประเทศตีกรอบต้องตรวจRT-PCR พร้อมจับมือตั้งศูนย์อำนวยความสะดวกฯ ลั่น!! อย่าตระหนก จนเสียโอกาสฟื้นเศรษฐกิจ เผยจับมือ ‘ศักดิ์สยาม-พิพัฒน์’ รับนักท่องเที่ยวไฟลท์แรกถึงสนามบินสุวรรณภูมิ 12 ม.ค.นี้

(5 ม.ค.66) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์หลังประชุมเตรียมความพร้อมรับผู้เดินทางเข้าประเทศจากสาธารณรัฐประชาชนจีน มีกระทรวงคมนาคม กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เข้าร่วม ว่า วันนี้เป็นการทำความเข้าใจเรื่องของการรับนักท่องเที่ยว ทั้งด้านการคมนาคม ท่องเที่ยว และสาธารณสุข โดยแต่ละหน่วยงาน รับทราบมาตรการและรับปฏิบัติ ขณะที่ กทม.พร้อมให้ความร่วมมืออย่างดี ยืนยันว่ามีมาตรการพร้อมรับนักท่องเที่ยวในทุกมิติ และสามารถปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมได้ตลอดตามความเหมาะสม โดยจะตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยว สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารขอให้คงมาตรฐานชาพลัส (SHA+) ผู้ให้บริการสวมหน้ากากอนามัย

นายอนุทิน กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นว่าประเทศที่มีข้อกำหนดให้นักท่องเที่ยวจะต้องตรวจ RT-PCR ก่อนเดินทางกลับเข้าประเทศตัวเองนั้น จะต้องซื้อประกันสุขภาพ ทุกประเทศไม่เฉพาะแค่ประเทศจีนประเทศ โดยเงื่อนไขของประกันเป็นไปตามหลักสากลในการรักษาพยาบาล และยังครอบคลุมโควิด-19 หากตรวจพบสามารถรักษาตามปกติ ส่วนประเทศใดที่ไม่มีเงื่อนไขต้องตรวจRT PCR ขอแนะนำให้ซื้อประกันสุขภาพไว้เช่นกัน เพื่อความสะดวกด้านต่างๆ หากมีการติดเชื้อหรือเจ็บป่วย จะมีสถานที่รักษา สำหรับประเด็นค่าเหยียบแผ่นดิน ซึ่งเป็นเรื่องของกระทรวงการท่องเที่ยวถือเป็นคนละเรื่องกัน และยังไม่ได้มีผลบังคับใช้

อนุทิน เผย อุปทูตจีน ขอบคุณไทยไม่เลือกปฏิบัติ รับ นทท.เท่าเทียม ชี้ ซื้อประกันโควิด-19 รองรับหากติดเชื้อก่อนขึ้นเครื่องกลับ ปท.

เมื่อวานนี้ (5 ม.ค. 66) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาประเทศ ว่า สำหรับข้อกำหนดเรื่องการซื้อประกันสุขภาพที่ครอบคลุมการรักษาโควิด-19 ในประเทศที่มีข้อกำหนดว่า จะต้องมีผลตรวจ RT-PCR ก่อนเดินทางกลับเข้าประเทศ ก็เพื่อดูแลนักท่องเที่ยวที่เข้ามาประเทศไทย เพราะหากก่อนขึ้นเครื่องแล้วผลเป็นบวก ก็ไม่สามารถเดินทางกลับได้ ดังนั้น ก็ต้องมีประกันมารองรับ ส่วนเรื่องวงเงินประกันขั้นต่ำ เป็นเรื่องที่ทุกประเทศที่มีกำหนดอยู่แล้ว เป็นปกติของการเดินทาง ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องกังวล

‘อนุทิน’ ร่วมต้อนรับ นทท.จีน เที่ยวบินแรก ย้ำ!! ไม่ต้องแสดงใบรับวัคซีนโควิด-19

(9 ม.ค. 66) เมื่อเวลา 13.00 น. ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังการต้อนรับผู้เดินทางเที่ยวบินแรกหลังจากจีนเปิดประเทศ ว่า เที่ยวบินแรกมาจากเซี๊ยะเหมิน จำนวน 269 คน ในวันนี้จะมีเที่ยวบินจากจีนเข้ามา 15 เที่ยวบิน จำนวน 3,465 คน คาดการณ์ว่าในปี 2566 จะมีผู้เดินทางจากจีนเข้าไทยราว 7-10 ล้านคน จากเดิมที่ก่อนมีโควิด-19 มีราว 20 ล้านคน และผู้เดินทางจากทั่วโลกเข้าไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เป็นสัญญาณดีต่อภาคการท่องเที่ยว คนมีงานทำ และมีโอกาส

“ทั้งหมดเข้ามาภายใต้มาตรการป้องกันโควิด-19 ของประเทศไทย ซึ่งมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ ซึ่งเป็นมาตรการที่เหมือนกันสำหรับผู้เดินทางเข้าไทยจากทุกประเทศ และมั่นใจประเทศไทยมีความพร้อมรับผู้เดินทางจากทุกประเทศ ไม่มีการแบ่งแยกจนกว่าจะมีความจำเป็น” นายอนุทิน กล่าว

นายอนุทิน กล่าวว่า สำหรับมาตรการผู้เดินทางเข้าไทยนั้น ยกเลิกการแสดงเอกสารฉีดวัคซีนโควิด-19 เริ่มตั้งแต่ 9 ม.ค.2566 เป็นต้นไป เนื่องจากคณะกรรมการวิชาการตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) โรคติดต่อ พ.ศ.2558 มีการประชุมเมื่อช่วงเช้า มีความเห็นว่า การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทยครอบคลุมจำนวนมาก รวมถึง ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกส่วนใหญ่ก็มีการฉีดวัคซีนจำนวนมากแล้ว ขณะที่การกำหนดให้แสดงเอกสารฉีดวัคซีนจะทำให้เกิดความไม่คล่องตัว จึงไม่มีความจำเป็นต้องแสดง ฉะนั้น มาตรการเข้าไทยตอนนี้ คงเหลือต้องมีประกันสุขภาพครอบคลุมการรักษาโรคโควิด-19 สำหรับผู้เดินทางจากประเทศที่กำหนดว่าเมื่อจะกลับเข้าประเทศนั้น ๆ จะต้องแสดงผลการตรวจโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR เพื่อที่หากตรวจพบเชื้อแล้วต้องรักษาในประเทศไทย จะได้มีการรองรับค่าใช้จ่าย 

‘นักท่องเที่ยวจีน’ ดีใจกลับมาประเทศไทยในรอบ 3 ปี รัฐมนตรีต้อนรับเที่ยวบินแรก พร้อมยืนยันมาตรการควบคุมโรคเท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติ

สื่อมวลชนจีนรายงานข่าว เที่ยวบิน MF833 จากเมืองเซี่ยะเหมินลงจอดที่สนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อเวลา 13.17 น. วันที่ 9 มกราคม ถือเป็นเที่ยวบินปฐมฤกษ์หลังจากรัฐบาลจีนผ่อนปรนมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 อนุญาตให้ชาวจีนเดินทางออกนอกประเทศได้

ผู้โดยสารในเที่ยวบินนี้ 269 คนเดินทางถึงประเทศไทยโดยสวัสดิภาพ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมต้อนรับนักท่องเที่ยวจากสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เดินทางมายังประเทศไทย

นักท่องเที่ยวจีนได้รับมอบขวัญจากคณะผู้แทนของไทย หลายคนถ่ายรูปกับรัฐมนตรีเป็นที่ระลึก นักท่องเที่ยวจีนต่างบอกว่า คิดถึงประเทศไทยเพราะไม่ได้เดินทางมาต่างประเทศนานกว่า 3 ปี นักท่องเที่ยวคาดหวังว่าสนามบินสุวรรณภูมิจะพัฒนาการอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว ทั้งการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง การขนส่งกระเป๋า และระบบคมนาคมสาธารณะ

'อนุทิน' ขอบคุณ อสม. ด่านหน้าดูแลสุขภาพคนไทย ยัน!! 'สาธารณสุข' มอบ 'สวัสดิการ-ดูแล' ต่อเนื่อง

(12 ม.ค.65) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  กล่าวว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ได้ติดตามสถานการณ์โรคอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่ประเทศไทยประกาศปรับระดับโรคโควิด19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง มาตั้งแต่ 1 ต.ค. 65 โดยภาพรวมขณะนี้ถือว่ายังดีขึ้นต่อเนื่อง และรายงานล่าสุดของกรมควบคุมโรค วันที่ 1-7 ม.ค. ที่ผ่านมา ระบุว่าทั่วประเทศมีผู้ป่วยรายใหม่ 997 คน หรือเฉลี่ยวันละ 142 คน นับว่าเป็นความสำเร็จจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน หน่วยงานของรัฐ เอกชน ภาคประชาชน เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และสาธารณสุข

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า นายอนุทินได้เน้นย้ำว่าความสำเร็จในการบริหารจัดการโควิด19 ของไทย มีส่วนสำคัญจากการทำงานหนักของบุคลากรทุกระดับ รวมถึงอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่เป็นกองหน้าในการช่วยดูแลสุขภาพคนไทยไปถึงชุมชนระดับฐานรากทั้งในช่วงเกิดโรคระบาดและสถานการณ์ปกติ และขอบคุณพี่น้องอสม. ที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและหน่วยงานต่างๆในการดูแลคนไทยมาโดยตลอด เป็นด่านหน้าคนแรกๆ ที่เข้าไปดูแลคนชุมชนหรือพื้นที่ห่างไกล ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขตระหนักถึงความสำคัญของพี่น้อง อสม. จึงได้เน้นย้ำถึงนโยบายการดูแลและมีสวัสดิการเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ อสม. ทั่วประเทศให้ต่อเนื่องสอดคล้องกับสถานการณ์ทั้งช่วงมีการแพร่ระบาดของโควิด19และสถานการณ์ปกติ

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุข มีสวัสดิการที่เป็นขวัญกำลังใจแก่ อสม.และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร(อสส.) 1,050,306 คน อาทิ ค่าตอบแทนเดือนละ 1,000 บาท ในช่วงเกิดการแพร่ระบาดของโควิด19 คณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติให้เพิ่มเติมอีกเดือนละ 500 บาท เป็นเวลา 30 เดือน หรือ 2 ปีครึ่ง ตั้งแต่ มี.ค. 63- ก.ย. 65 รวมกว่า 15,000 ล้านบาท และมีสวัสดิการดูแลสุขภาพตามรายการตรวจสุขภาพประจำปี ภายใต้ระเบียบสาธารณสุข ว่าด้วยการช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล เพื่อให้ อสม. ได้รับการตรวจสุขภาพตามช่วงวัย อาทิ การประเมินคัดกรองความดันโลหิต, ความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด(Thai CV risk score), ภาวะซึมเศร้า,ภาวะเครียด  สำหรับผู้มีอายุ 30 ปีขึ้นไป เพิ่มการตรวจความเข้มข้นระดับน้ำตาลในเลือด(FBS)ตรวจอุจจาระ (Stool examination)สำหรับผู้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงพยาธิใบไม้ตับ และกรณีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สามารถเข้ารับบริการประเมินภาวะถดถอย 9 ด้าน


TRENDING
© Copyright 2022, All rights reserved. South Time Thailand
Take Me Top